วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยวในญี่ปุ่น

ภูมิภาคเหนือ (ฮอกไกโด)
ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โทโฮขุ)
ภูมิภาคตะวันออก (คันโต)
ภูมิภาคกลาง (จูบุ)
ภูมิภาคตะวันตก (คันไซ เกียวโตและนารา)
เกาะชิโคขุและหมู่เกาะทะเลใน (เซโตไนไค)
ภาคตะวันตก (จูโกขุ)
ภาคใต้ (คิวชู และเกาะโอกินะวะ)

สำหรับภูมิภาคอื่นที่ไม่มีในบล๊อคนี้ให้คลิกที่ link ด้านบนนะครับ


ภูมิภาคเหนือ (ฮอกไกโด)

ฮอกไกโด เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ถือเป็นสวรรค์ของธรรมชาติซึ่งสามารถจะท่องเที่ยวได้ตลอดปีมีทั้งภูเขา ที่ราบสูง แม่น้ำ ทะเลสาบ บ่อน้ำพุร้อน และชายฝั่งทะเล มีเมืองซัปโปโรเป็นศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมือง รวมทั้งการเดินทางไปโตเกียวและโอซาก้า เป็นเมืองที่มีการจัดวางผังได้สมบูรณ์แบบ มี สวนสาธารณะโอโดริ ซึ่งเป็นที่จัดแสดงงานเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาชมงานในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี นอกจากนี้ยังมี หอนาฬิกาอันเก่าแก่ และ ที่ว่าการเมืองฮอกไกโด อีกทั้ง ย่านร้านค้าซึซึกิโน่ ซึ่งเป็นศูนย์การค้าและแหล่งจับจ่ายซื้อของที่มีชื่อเสียงของเมืองนี้

เมืองฮะโคดาเตะ เป็นเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่ทางใต้สุดของเกาะฮอกไกโด สามารถไปถึงโดยทางรถไฟจากเมืองอะโอโมริในเกาะฮอนชู หรือทางรถไฟจากซัปโปโรบนเกาะฮอกไกโด ในยามเช้าจะมีตลาดสดขายอาหารทะเลสดๆ ให้ชิม ยามสายเที่ยวชมโบสถ์ และป้อมปราการโบราณในเมือง ยามเย็นนั่งกระเช้าลอยฟ้าขึ้นไปบนเขาฮาโคดาเตะ ชมทิวทัศน์ยามราตรีที่สวยงามได้รอบทิศ

ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (โทโฮขุ)

สำหรับภูมิภาคโทโฮขุ จะได้พบกับสถานที่ดึงดูดใจอันหลากหลายของที่ราบสูง มีภาพลักษณ์ภายนอกแบบชนบทที่เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างโลกแห่งธรรมชาติที่สดใส ผู้คนเป็นมิตรจริงใจ รวมถึงงานเทศกาลรื่นเริงและตื่นตาตื่นใจตลอดช่วงสั้นๆของฤดูร้อน

ทางเหนือของเกาะฮอนชูคือภูมิภาคโทโฮขุ เป็นภูมิภาคที่มีอากาศเย็นสดชื่นตลอดแม้ในฤดูร้อน อุณหภูมิบริเวณที่ราบสูงประมาณ 10 องศาเซลเซียส มีบ่อน้ำพุร้อนตามธรรมชาติอยู่ทั่วทุกที่ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากทั่วทั้งญี่ปุ่นที่ชื่นชอบการอาบน้ำพุร้อนให้มาเยี่ยมเยือน บ่อน้ำพุร้อนเหล่านี้มีคุณสมบัติในการรักษาและบำบัดโรคมายาวนาน

เมืองฮิระอิซึมิ ห่างจากเมืองเซนได 1.30 ชม. โดยรถไฟ แต่เดิมเป็นแม่แบบของเมืองเกียวโต และยังเป็นสถานที่ตั้งของ วัดจูซอนหยิ ที่มีชื่อเสียง สร้างขึ้นในปี 1109 ภายในวัด มีวิหารทองคำ คอนจิกิโด ที่ตัววิหารเคลือบดำและชุบทองทับ ซึ่งแต่เดิมวิหารนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปถึง 11 องค์

เมืองอะโอโมริ ใช้เวลา 2.5 ชม. เดินทางโดยรถไฟด่วนจำกัดความเร็วจากโมริโอกะ เริ่มต้นการเดินทางจาก ทะเลสาบโทวาดะ และ หุบเขาโออิระเซะ ใจกลางหุบเขาคือ อุทยานแห่งชาติ โทวาดะ-ฮะจิมังไต กลางอุทยานมีทะเลสาบโทวาดะ ซึ่งเป็นทะเลสาบที่มีเสน่ห์ที่สุดในญี่ปุ่น ทางตะวันออกของชายฝั่งมี หุบเขาโออิระเซะทอดยาวถึง 14 กม. หากเดินท่องไปตามริมช่องแคบระหว่างหุบเขาที่เต็มไปด้วยป่าทึบ จะพบกับทิวทัศน์ของลำธารกระจ่างใส อีกทั้งน้ำตกน้อยใหญ่

ภูมิภาคตะวันออก (คันโต)

โตเกียวเป็นเมืองหลวงที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดในเอเชีย เป็นแหล่งที่คงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันเก่าแก่หลายศตวรรษ ผสมผสานควบคู่ไปกับค่านิยมใหม่ๆที่เกิดขึ้น และ แสดงออกถึงความตื่นเต้นและความมีชีวิตชีวาที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว
พื้นที่ของเมืองโตเกียวนั้น มีอาณาบริเวณหนึ่งในสี่ส่วนของประเทศญี่ปุ่น มีจำนวนประชากรที่ถูกต้องตามกฎหมายอาศัยอยู่ 12 ล้านคน

พระราชวังอิมพีเรียล แต่เดิมมีชื่อว่า พระราชวังเอโดะ ซึ่งภายในล้อมรอบด้วยคูเมือง ประตูทางเข้าที่งดงาม และป้อมปราการเก่าแก่ตั้งอยู่ห่างกันเป็นช่วงๆ ทางเข้าหลักอยู่ใกล้กับนิจูบะชิ สะพานสองชั้น และจะเปิดให้คนภายนอกเข้าชมตามวาระพิเศษต่างๆ สวนตะวันออกฮิกาชิ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของหอคอยใหญ่ ภายในสวนงดงามไปด้วยดอกไม้หลากหลายพันธุ์และจะผลิบานตามแต่ฤดูกาล เหมาะสำหรับทุกคนที่ต้องการสถานที่พักผ่อนในอุดมคติ
จุดเด่นสำคัญของสถานีรถไฟโตเกียว มะรุโนอุจิ ซึ่งเป็นเครื่องหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ของตึกมารุโนจิ หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "มารุ-บิร" สร้างขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1923 และมาเปิดใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ. 2002 พร้อมกับตึก 36 ชั้น ภายในประกอบด้วยร้านอาหาร ร้านค้า และสำนักงานมากมาย

วัดอะซะคุซะ เต็มไปด้วยร้านค้าขายของพื้นมืองหลายหลาก สีสันสดใสตลอดสองข้างทาง เป็นแหล่งเลือกซื้อของที่ระลึกอย่างดีเยี่ยม

ย่านชินจุกุ แหล่งท่องเที่ยวทันสมัยฝั่งตะวันตกของโตเกียว เป็นแหล่งช้อปปิ้ง และสถานบันเทิงยามค่ำคืนยอดนิยมที่มีชื่อเสียง ยามกลางวันแวะชม สวนสาธารณะชิจุกุเกียวเอ็น ที่เงียบสงบ ใกล้ๆ กันนั้นใน ย่านฮะทจึได เป็นที่ตั้งโรงละครโอเปร่าเต็มรูปแบบ

ย่านชิบุยะ เป็นศูนย์กลางแฟชั่นและวัฒนธรรมสมัยใหม่ของวัยรุ่น ใกล้กับ ศาลเจ้าเมจิ ที่เงียบสงบ ติดต่อกันเป็นแหล่งช้อปปิ้งยอดนิยมและสวรรค์ของคนรุ่นใหม่คือ ย่านฮะระจุกุ และ ย่านอะโอยะมะ

ย่านโอไดบะ
สร้างขึ้นจากการถมทะเลในอ่าวโตเกียว เป็นสถานที่ยอดนิยมของเหล่านักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ มีทั้งแหล่งบันเทิงขนาดใหญ่ ที่มีชิงช้าสวรรค์ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ เรนโบว์ ทาวน์ เหล่าคู่รักวัยรุ่นนิยมนั่งชิงช้าสวรรค์ เพื่อชมวิวทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่สวยงาม มีทั้งสวนสนุกของบ่อน้ำแร่ โอเอโดะ-ออนเซ็น โมโนงะตะริ ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสประสบการณ์อาบน้ำแร่ในทุกรูปแบบที่นี่


แหล่งที่มา http://www.yokosojapan.org/

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

งานครั้งที่ 3 ตัวอย่างการทำงานในสำนักงานอัตโนมัติ

เครื่องฝากเงินอัตโนมัติของธนาคาร (Cash Deposit Machine)

ทุกวันนี้ เครื่องโอนเงินชนิดนี้ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องคอยต่อแถวฝากเงินเหมือนสมัยก่อนและยังช่วยธนาคารสามารถรับลูกค้ารายอื่น ๆไม่ใช่มาฝากเงินได้มากขึ้น หรือแม้แต่ E-Revenue ของ กรมสรรพากร ที่ช่วยพี่น้องประชาชนไม่ต้องเดินทางไปที่สำนักงานของกรมสรรพากรเพื่อยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเหมือนก่อน เพียงเข้าไปที่เว็บไซด์ E-Revenue ของกรมสรรพากร ก็สามารถยื่นแบบฯได้แล้วและยังขอคืนเงินภาษีได้อีกด้วย ก็ถือว่าเป็น การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่นกัน
ความสามารถในการใช้งาน
(1) สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วของข้อมูลแบบ Synchronous ไม่ต่ำกว่า 24 Kbps ได้
(2) มีรูปแบบของข้อมูลที่ส่งแบบ Synchronous (serial by bit)
(3) รองรับ DTE interface มาตรฐาน CCITT V.24/V.28 หรือ EIA RS-232
(4) รองรับคู่สายแบบ 2 และ 4 -wire unconditioned twister pair
(5) รองรับการทำงานแบบ dial backup ผ่านชุมสายโทรศัพท์ได้
(6) สามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลในโหมดการส่งแบบ Full-duplex ได้
(7) สามารถทำการเปลี่ยน Config ของ Modem ปลายทางได้จาก Front Panel ของ Modem ต้นทาง

เครื่องฝากเงินอัตโนมัติแต่ละเครื่องต้องมีอุปกรณ์อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
รายละเอียด
1. ระบบควบคุมหลัก 1 UNIT
2. DISPLAY 1 UNIT
3. KEYBOARD 1 UNIT
4. CARD SET 1 UNIT
5. BARCODE READER 1 UNIT
6. RECEIPT PRINTER 1 UNIT
7. CASH ACCEPTOR AND VALIDATION 1 UNIT
8. SECURITY SYSTEM 1 SYSTEM
9. กล้องบันทึกภาพภายในเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ พร้อมอุปกรณ์ 1 SYSTEM


อุปกรณ์แต่ละรายการต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(1) ระบบควบคุมหลัก
(1.1) PROCESSOR เป็นชนิดไม่ต่ำกว่า PENTIUM 4 ที่มีความเร็วไม่ต่ำกว่า 2.8 GHz หรือที่มีประสิทธิภาพดีกว่า
(1.2) ต้องมีหน่วยความจำหลัก (Main Memory) ไม่น้อยกว่า 512 MB
(1.3) HARDDISK มีขนาดไม่ต่ำกว่า 80 GB
(1.4) ต้องมี SYSTEM DIAGNOSTIC
(1.5) ต้องมี AUDIO และ VIDEO ที่สามารถใช้งาน MPEG ได้
(1.6) ต้องมี WINDOWS XP หรือ ใหม่กว่า
(1.7) ต้องมี CD-RW หรือมีประสิทธิภาพสูงกว่า
(1.8) ต้องใช้งานร่วมกับกล้องบันทึกภาพภายในเครื่องฝากเงินอัตโนมัติได้
(2) DISPLAY
(2.1) ต้องเป็นชนิด LCD ที่มีขนาดไม่ต่ำกว่า 12 นิ้ว

(2.2) สามารถแสดงข้อความได้อย่างน้อยทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลขและอักขระพิเศษ
(2.3) สามารถแสดงภาพสีได้ไม่น้อยกว่า 256 สี ที่มีความละเอียดไม่น้อยกว่า
1024x768 PIXELS
(2.4) สามารถแสดงเป็นภาพ GRAPHIC และมี MULTIMEDIA เพื่อให้สามารถ
แสดงภาพ ANIMATION ได้โดยไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการให้บริการ
(3) KEYBOARD
(3.1) ต้องเป็น STANLESS STEEL ที่มีตัวเลขปรากฏอยู่อย่างถาวร
(3.2) PIN PAD ต้องรองรับ TRIPLE DES และ DES
(3.3) ต้องมี PROGRAMMABLE FUNCTION KEY จำนวนอย่างน้อย 8 KEYS
(4) CARD SET
(4.1) ต้องมี MAGNETIC CARD READER ที่สามารถอ่านแถบแม่เหล็ก ตามมาตรฐาน ISO ได้ทั้งแบบ HI-CO และ LO-CO
(4.2) ต้องมี MAGNETIC CARD READER สำหรับ READ TRACK 1 2 และ 3 ได้
(4.3) ต้องมีกล่องหรือถาดสำหรับเก็บบัตร (CARD CAPTURE)
(4.4) ต้องมีระบบคืนบัตรในกรณีไฟฟ้าดับ (CARD RETURN ON POWER FAIL)
(4.5) ต้องมีอุปกรณ์สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลบน SMART CARD ตามมาตรฐาน EMV VERSION 4.0 LEVEL 1 ของ VISA หรือสูงกว่า
(5) BARCODE READER
สามารถอ่านแถบรหัส BARCODE ชนิด CODE 39, CODE 93, CODE 128, EAN 128, Interleaved 2 of 5 และตามมาตรฐานของธนาคารแห่งประเทศไทยได้เป็นอย่างน้อย
(6) RECEIPT PRINTER
(6.1) ต้องเป็นแบบ THERMAL PRINTER
(6.2) สามารถพิมพ์ได้ไม่น้อยกว่า 40 ตัวอักษรต่อบรรทัด
(6.3) ความเร็วในการพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 120 ตัวอักษรต่อวินาที
(6.4) สามารถพิมพ์ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ตัวเลข และอักขระพิเศษ
(6.5) สามารถพิมพ์ภาพ GRAPHIC ตามที่ธนาคารกำหนด
(7) CASH ACCEPTOR AND VALIDATION
(7.1) สามารถรับธนบัตรไทยชนิด 20 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท
ตามรูปแบบที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด
(7.2) สามารถรับธนบัตรไทยชนิดและรูปแบบที่เพิ่มเติมจากข้อ (7.1)ก่อนการรับมอบได้
(7.3) สามารถรับธนบัตรได้ไม่ต่ำกว่า 50 ฉบับ ต่อการทำรายการฝากเงิน 1 ครั้ง โดยสามารถรับธนบัตรชนิดต่าง ๆ แบบคละกันได้ (7.4) มีความเร็วในการนำธนบัตรเข้าสู่ระบบการตรวจความถูกต้องของธนบัตร
ไม่น้อยกว่า 5 ฉบับ/วินาที
(7.5) ต้องมีกล่องสำหรับใส่เงิน (CURRENCY CASSETTE) จำนวน 2 ชุดๆ ละ
4 กล่อง โดยแต่ละกล่องจะต้องมีขนาดความจุธนบัตรไม่ต่ำกว่า 2,000 ฉบับ
(7.6) กล่องสำหรับใส่เงินแต่ละกล่องต้องสามารถบรรจุธนบัตรไทยชนิดใบละ
20 บาท 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท ได้
(7.7) ต้องสามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของธนบัตรได้ ในกรณีที่พบธนบัตรชำรุดหรือติดกัน ต้องสามารถคืน (PURGE) เฉพาะธนบัตรที่ชำรุดหรือติดกัน
(7.8) ต้องสามารถตรวจสอบและแสดงผลหน้าจอ ในกรณีที่มีวัสดุแปลกปลอม อยู่ภายในช่องรับฝากเงินได้
(7.9) ต้องสามารถคัดแยกธนบัตรปลอมได้

(7.10) มีการตรวจสอบขนาดธนบัตรทั้ง 2 ด้าน ความกว้าง ความยาว และความหนา ของธนบัตร
(7.11) มีที่พักของธนบัตรที่นำเข้าฝาก เพื่อรอการยืนยันจากผู้ฝากก่อนนำเงินเข้าเก็บ
ในกล่องเงิน
(7.12) สามารถฝากธนบัตร โดยสอดธนบัตรได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
(7.13) ต้องมีกล่องสำรอง (REJECT CASSETTE) อย่างน้อย 2 กล่อง
(8) SECURITY SYSTEM
(8.1) ต้องมี ALARM SYSTEM ดังนี้
ก. SENSOR สำหรับตรวจจับความร้อน
ข. SENSOR สำหรับตรวจจับการสั่นสะเทือน หรือเสียงเพื่อป้องกันการเข้าถึงและทำลาย HARDWARE
(8.2) ต้องมีระบบควบคุมและตรวจสอบการทำงานของเครื่อง ฯ
(8.3) ต้องมีตู้นิรภัย
(8.4) ต้องมีระบบหยุดบริการ ในกรณีที่เครื่องฝากเงินอัตโนมัติ ไม่อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งาน
(8.5) ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยของ DATA COMMUNICATION (8.6) ต้องมีระบบป้องกันการขโมยข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก (ANTI SKIMMING)
(8.7) ต้องมีช่องสำหรับติดตั้งกล้องบันทึกภาพ
(8.8) ต้องมีระบบการบันทึกภาพเหตุการณ์ปกติและผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ
(9) กล้องบันทึกภาพภายในเครื่องฝากเงินอัตโนมัติพร้อมอุปกรณ์
(9.1) ต้องสามารถบันทึกภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเครื่องฝากเงินอัตโนมัติได้โดยอธิบายรายละเอียดของระบบการทำงานดังกล่าวให้ชัดเจน
(9.2) ต้องใช้กล้องชนิดสีพร้อมเลนส์ที่เหมาะสม โดยที่กล้องต้องสามารถถ่ายภาพ ย้อนแสง สามารถมองเห็นหน้าตาคนหรือวัตถุได้ชัดเจน (Back Light Compensation) ทุกจุดบนจอภาพ โดย
ภาพที่ได้จากกล้องต้องแสดงเป็นภาพสีและนำมาบันทึกด้วยระบบ Digital ลงใน Hard Disk ซึ่งมีโปรแกรม
ควบคุมได้
(9.3) ต้องสามารถบันทึกแฟ้มข้อมูลภาพจากกล้องบันทึกภาพภายในเครื่องฝากเงินอัตโนมัติลงใน Hard Disk ขนาดไม่น้อยกว่า 80 GB (แยกต่างหากจากเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ) และเก็บข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน โดยสามารถกำหนดจังหวะของการถ่ายภาพได้ไม่น้อยกว่า 4 ภาพต่อ 1 Transaction สำหรับรายการปกติ พร้อมรายละเอียดข้อมูลการทำรายการ เช่น หมายเลขบัตร เลขที่บัญชี วันที่ เวลา จำนวนเงิน หมายเลขเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ ลำดับรายการ เป็นต้น และสามารถบันทึกภาพในกรณีรายการผิดปกติ หรือเหตุการณ์ผิดปกติได้
(9.4) ต้องสามารถแสดงภาพที่มีความละเอียดสูงสุด 640 x 480 PIXELS ได้ และมองเห็นภาพชัดเจน
(9.5) ต้องสามารถแสดงแฟ้มข้อมูลภาพจากกล้องบันทึกภาพภายในเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ ได้จากเครื่องฝากเงินอัตโนมัติ
(9.6) ต้องสามารถดึงแฟ้มข้อมูลภาพจากกล้องบันทึกภาพภายในเครื่องฝากเงินอัตโนมัติมายังส่วนกลาง (Upload Auto) ผ่านเครือข่าย X.25 หรือ TCP/IP ได้
(9.7) ต้องสามารถใช้งานในอุณหภูมิปกติได้ถึง 40 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า







วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

งานครั้งที่ 2 เทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ

อาคารอัจฉริยะคืออะไร

คำจำกัดความ “อาคารอัจฉริยะคืออาคารที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคนิคการก่อสร้างที่ก้าวหน้า มี ความแตกต่าง จาก อาคาร
ธรรมดา ในทุกๆแง่ มีการติดตั้งอุปกรณ์ ที่รับรู้ ข้อมูลต่างๆ ของอาคาร โดยข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปยังระบบประมวลกลาง ซึ่งมีความสามารถ ใน
การวิเคราะห์ข้อมูล ที่ได้รับ แล้ว สั่งการ ให้ระบบของอาคาร ปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป โดยผลที่ต้องการคือผู้ใช้งานอาคาร
ได้รับผลประโยชน์สูงสุด” ซึ่ง จะว่าไปแล้ว อาคารอัจฉริยะ จะต้องทำงานได้คล้ายสิ่งมีชีวิตคือมีการรับรู้และสามารถตอบสนองกับสิ่งเร้าทั้ง
จากภายในและภายนอก อีกทั้ง สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ตนเองมีการใช้ชีวิตได้อย่างปรกติสุขนั้นเอง

ประวัติความเป็นมาของการพัฒนาอาคารอัจฉริยะ

ในราวปลายทศวรรษที่ 70 ได้มีการพัฒนาระบบเครื่องกลและไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย การนำระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาควบคุม
การทำงาน ให้เป็นแบบ รวมศูนย์ มีการติดตาม และ ดูแลการทำงานของเครื่องจักรผ่านตัวรับสัญญาณ และ เพิ่มประสิทธิภาพ ของระบบให้
สามารถตอบสนองกับสภาพแวดล้อมที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น เทคโนโลยีนี้เป็นปัจจัยแรกๆที่ก่อให้เกิดระบบอาคารอัจฉริยะ
แนวความคิดในการพัฒนาและออกแบบอาคารให้เป็นอาคารอัจฉริยะมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) โดยในทศวรรษที่ 80 เริ่มมีการนำ
ระบบควบคุมแบบอัตโนมัติมาใช้ใน ระบบรักษาความปลอดภัย, ระบบไฟฟ้าแสงสว่างของอาคาร แต่ในสมัยแรกระบบต่างๆมักถูกออกแบบให้
ทำงานอย่างอิสระ ขาดการประสานและทำงานร่วมกัน

รูปที่ 1 อาคาร Lloyds Building ออกแบบโดย Richard
Rogers Partnership










รูปที่ 2 อาคาร NEC Tower ออกแบบโดย Nikken Sekkei








องค์ประกอบของอาคารอัจฉริยะ
องค์ประกอบใหญ่ๆของอาคารอัจฉริยะนั้นต้องประกอบด้วยส่วนต่างๆ สี่ส่วนคือ
1. ระบบบริหารอาคาร (Building Management System)
2. งานระบบอาคาร (Building System)
3. ระบบโครงสร้างอาคาร (Building Structure)
4. ส่วนให้บริการลูกค้า (Tenants Service)
โดยรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้
1.ระบบบริหารอาคาร (Building Management System )ระบบบริหารอาคาร มาจากแนวความคิดที่ว่า การใช้ระบบอัตโนมัติในการบริหารระบบและทรัพยากรของอาคารจากส่วนกลาง จะสามารถช่วย
สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของอาคารโดยรวม



ระบบควบคุมการใช้พลังงาน (Energy Management)ระบบนี้ทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการใช้พลังงานของอาคาร โดยจะบริหารการใช้พลังงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดโดยใช้ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด
ตัวอย่างที่มีประโยชน์มากสำหรับระบบนี้ในประเทศไทยคือการบริหารการใช้ไฟฟ้าของอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าใช้ไฟฟ้าสูงสุดของแต่
ละเดือน (Demand Charge)

2. งานระบบอาคาร (Building System )แม้ว่างานระบบของอาคารอัจฉริยะจะถูกเฝ้าดูและควบคุมจากส่วนกลาง แต่ในระบบย่อยๆนั้นมักจะสามารถควบคุมการทำงานด้วยตนเองอยู่
ด้วยเสมอ ส่วนประกอบของงานระบบอาคารมีดังนี้คือ
ระบบควบคุมกลาง (Direct Digital Control หรือ DDC)
ระบบนี้จะช่วยตรวจสอบ,ดูแลและถ่วงดุลให้ระบบทั้งหมดทำงานอย่างประสานกัน เช่น ระบบเครื่องทำน้ำเย็นหลัก, ระบบเป่าลมเย็น, ระบบ
ไฟฟ้ากำลัง, ระบบลิฟต์, ระบบตรวจจับเพลิงไหม้ ฯลฯ ระบบย่อยๆ เหล่านี้ได้รับการดูแล ให้ทำงานได้อย่าง กลมกลืน และ สามารถตอบสนอง
กับ สภาพแวดล้อมภายใน และ ภายนอก ที่เปลี่ยนไป ผ่านระบบควบคุมกลาง ระบบนี้ จะทำงานร่วมกับ ระบบบริหารอาคารอย่างใกล้ชิด
ระบบจ่ายไฟฟ้ากำลัง (Electric Power Supply System)
ระบบนี้เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้ากำลังทั้งหมดของอาคาร รวมทั้งระบบจ่ายไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉินเช่น ระบบไฟฟ้าจาก เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
,แบตเตอรี่สำรอง, ระบบจ่ายไฟของ คอมพิวเตอร์, ระบบจ่ายไฟฟ้าสำรองของลิฟต์ และระบบป้องกัน ไฟกระชาก และ ระบบไฟฟ้า ในกรณีเกิด
เพลิงไหม้ เป็นต้น
ระบบนี้จะคอย ควบคุมอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า ทั้งหมด ทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน การเดินสายทั้งหมด ต้องถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบ
นี้ อาจ รวม ระบบไฟฟ้า แสงสว่าง เข้าไว้ในการควบคุมด้วย

3. โครงสร้างอาคาร (Building Structure)ในการออกแบบอาคารอัจฉริยะนอกจากการพิจารณาระบบวิศวกรรมเครื่องกลแล้ว ต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงสร้างให้เหมาะสมอีกด้วย
โดยมีส่วนประกอบต่างๆดังนี้
การออกแบบโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่นสูง (Structure Design with Flexibility)โครงสร้างของอาคารอัจฉริยะที่ดีควรให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ง่าย โดยเฉพาะการเดินท่อเพื่อร้อยสายสัญญาณเพิ่มในภายหลังต้อง
สามารถทำได้โดยไม่มีความลำบากมากนัก
ระบบผนังอาคารภายนอก (External Skin System)ระบบผนังอาคารที่ดีควรตอบสนองและสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เช่นการใช้ที่บังแดดที่สามารถปรับเปลี่ยนการบังแดดตาม
องศาของดวงอาทิตย์ สามารถทำให้อาคารประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
ระบบพื้นยก (Raised Floor System หรือAccess Floor System)การเดินสายสัญญาณและงานระบบต่างๆในอาคารอัจฉริยะมักจะมีจำนวนมากกว่าอาคารปกติหลายเท่าดังนั้นการใช้พื้นแบบยกสองชั้น จึงเป็น
สิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

4. ส่วนบริการผู้ใช้งานอาคาร (Tenant Service)
เป็นส่วนที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้อาคารมากที่สุด และเป็นส่วนที่สามารถสร้างจุดขายทางการตลาดของอาคารได้มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบย่อยๆ
ดังนี้
ระบบเสาอากาศโทรทัศน์รวม (Communal Antenna Broadcast Distribution System)เพื่ออำนวจความสะดวกแก่ผู้เช่าในการรับสัญญาณโทรทัศน์โดยไม่ต้องติดตั้งระบบของตนเอง
ระบบโทรศัพท์ (Private Automatic Branch Exchange)โดย ให้ผู้เช่าเลือกได้ว่าจะใช้ระบบตู้สาขาโทรศัพท์เป็นของ ตนเองหรือใช้บริการจากอาคารก็ได้ อาคาร ต้องจัดเตรียม สายสัญญาณหลัก ให้
มีคู่สาย ที่เพียงพอต่อ ความต้องการของ ผู้เช่า หรือ ออกแบบให้ สามารถ ขยายเครือข่ายได้ในกรณีที่จำเป็น
ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Service)ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นการสื่อสารในระบบไมโครเวฟ
การประชุมผ่านทางจอภาพ (Video Conferencing)
สามารถให้ผู้ใช้ติดตั้งระบบการประชุมผ่านจอภาพทางไกลได้โดยอาคารต้องจัดเตรียมระบบส่วนกลางที่สามารถรองรับบริการดังกล่าวไว้
ล่วงหน้า

ระบบสายสัญญาณอินเตอร์เน็ต (Internet Service)ปัจจุบันการใช้งานอินเตอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกิจ ถ้า อาคารใด สามารถให้บริการแก่ผู้ใช้งานในเรื่องนี้ ย่อมเป็น จุดขาย
ของ อาคาร ที่น่าสนใจมาก

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

งานครั้งที่ 1 เกณฑ์การตัดสินใจในการเลือกใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

วัตถุประสงค์ของระบบสำนักงานอัตโนมัติ

การจัดทำระบบสำนักงานอัตโนมัติจำเป็นต้องใช้เวลา ทรัพยากรมากมายแต่หลายหน่วยงานก็มีความคาดหวังที่จะพัฒนาองค์กรให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติ ดังนี้


1. เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสำนักงานให้มีความสะดวกเป็นระบบต่อเนื่อง มีรูปแบบชัดเจนเป็นมาตรฐานสากล
2. ช่วยลดเวลาการจัดการงานในสำนักงานลง
3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงาน สำนักงานลง ในด้านแรงงาน เครื่องมือ สถานที่จัดเก็บเอกสาร
4. เพิ่มความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และการญบูรณาการข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่
5. เพิ่มโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง
6. ปรับปรุงวิธีปฏิบัติสำนักงานเป็นแบบโลกาวิวัฒน์หรือสำนักงานแบบเทียม (Virtual office)

การพิจารณาตัดสินใจนำระบบสำนักงานอัตโนมัติมาใช้

1. ผู้ดำเนินการติดตั้งระบบสำนักงานอัตโนมัติ
- ผู้ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
- ทีมงานเฉพาะกิจขององค์การที่ปรึกษา
- ทีมงานเฉพาะกิจร่วมกับที่ปรึกษา

2. ปัจจัยที่ต้องพิจารณา
- การจัดการเอกสารในสำนักงาน
- ปริมาณงานที่พิมพ์และความยาว
- เวลาที่ใช้ในการพิมพ์ เวลาที่ต้องการให้แล้วเสร็จ
- ปริมาณเอกสารและสำเนา
- ปริมาณงานที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์
- จำนวนพนักงาน
- ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
- การวิเคราะห์ระบบสำนักงานทั้งระบบ
- โครงสร้างของระบบสำนักงาน
- ผังของสำนักงาน
- หน้าที่ของอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ลักษณะของแบบฟอร์มที่ใช้
- หน้าที่ของงานแต่ละอย่าง


ระบบสำนักงานอัตโนมัติกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการนำเอาคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องต่อเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าหากันก็ด้วยเหตุผลที่ราคาของคอมพิวเตอร์ถูกลง และต้องการเพิ่มขีดความสามารถของระบบโดยรวม หรือที่เรียกว่าการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียวก็ทำงานได้ในตัวเองอย่างหนึ่ง แต่เมื่อต่อรวมกันจะทำงานได้เพิ่มขึ้น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้งาน มีความรวดเร็วเพิ่มขึ้น
การทำงานในสำนักงานก็เช่นเดียวกัน ที่จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันภายในโต๊ะทำงานตัวหนึ่งเสมือนจุดการประมวลผล การวิเคราะห์ การแยกแยะข้อมูลข่าวสาร แล้วส่งต่อให้โต๊ะอื่น ๆ หรือหน่วยอื่น ๆ ต่อไป การเชื่อมโยงเครือข่ายเป็นระบบก็เช่นเดียวกัน เป็นการเชื่อมโยงระบบประมวลผลหรือคอมพิวเตอร์หลาย ๆ ระบบเข้าด้วยกัน ระบบสำนักงานอัตโนมัติจึงเป็นเรื่องของการประมวลผลในจุดต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลเข้าหากันผ่านทางเครือข่าย


ระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเป็นเครือข่ายในสำนักงานอัตโนมัติจะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร และสารสนเทศระหว่างสถานที่ที่ใช้เป็นสำนักงานต่างๆในเครือข่าย เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการ และการใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ โดยการเผยแพร่และสื่อสารสารสนเทศไปยังกลุ่มต่างๆเป็นไปโดยสะดวกรวดเร็ว ประกอบการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ทันสมัย เป็นปัจจุบัน เหล่านี้ทำให้การดำเนินงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล